โลกร้อนขึ้นทุกวัน กิจกรรมที่ทำแล้วสร้างความร้อนให้กับโลก หรือใช้ทรัพยากรสิ้นเปลืองที่ใช้แล้วหมดไป ทำให้ต้องสิ้นเปลืองพลังงานในแหล่งอื่นๆ มาทดแทนเพื่อการผลิตและบริโภค ล้วนเป็นกิจกรรมที่ทำให้เกิด carbon footprint ที่ไม่พึงประสงค์ซึ่งสร้าง CO2 ในปริมาณที่มากเกินจำเป็น
แล้วทำไมบริษัทใหญ่ๆ จึงหันมาใส่ใจในการลดโลกร้อน?
เหตุผลหลักนอกจากการทำ CSR เพื่อให้สอดคล้องกับการเป็นองค์กรมหาชนแล้ว สิ่งสำคัญคือการปรับเปลี่ยนตัวเองให้พร้อมกับโลกอนาคต เพราะท้ายที่สุดแล้วความจำเป็นของมาตรฐานใหม่ในการปฏิบัติการภาคการผลิตและการบริโภคจะเกิดขึ้นบนพื้นฐานของ Low Carbon Footprint แทบทั้งหมด องค์กรใดๆ ก็ตามที่ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดอันเป็นนัยยะสำคัญของการร่วมกิจกรรมทางการค้ากันก็จะขาดสิทธิพิเศษในการทำธุรกิจร่วมกันกับห่วงโซ่การผลิตขององค์กรขนาดใหญ่
เรื่องนี้มันไกลตัวเรากันแค่ไหน?
เรียกได้ว่าใกล้แค่จมูกแล้วกัน เพราะวันนี้องค์กรเพื่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ มากมายต่างรณรงค์กิจกรรมเพื่อการลดปริมาณ CO2 และสร้างรางวัลแห่งนวัตกรรมการลดโลกร้อนกันอย่างต่อเนื่อง บ้างก็ลงทุนในเทคโนโลยีที่แพงกว่าแต่เพื่อเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรให้สอดคล้องกับความต้องการของโลกใบเดิมในมิติใหม่แห่งอนาคต ถ้าเขาทำกันหมด แล้วคุณไม่ทำ คุณจะอยู่อย่างไร ไดโนเสาร์มันยังไปไม่รอดเลยเพราะมันเปลี่ยนแปลงตัวเองไม่ทัน
แล้วต้องเริ่มจากตรงไหนถ้าจะปลูกจิตสำนึก Low Carbon Footprint?
ไม่อยากถ้าอยากจะทำ เริ่มจาก;
1. การทิ้งของเสีย
ในบริบทของ Steel Fabrication ที่แปรรูปโลหะอย่างเราๆ ทั้งหลาย วันนี้คุณบริหารเศษวัสดุกันดีเพียงไร อาทิเช่น
- เศษที่ทิ้งกันอยู่เอามาผลิตอะไรได้บ้างที่ดีกว่าการนำไปส่งโรงหลอม
- เทคโนโลยีที่ใช้ในการลดเศษเหล็กมีอะไรบ้าง เช่น การใช้ระบบ Nesting ที่มีคุณภาพ หรือการใช้เครื่องจักรที่มี Waste น้อย เช่น Cut-to-Length ที่ไม่เสียเศษหัวท้ายไปดื้อๆ โดยไม่มีการปรับปรุงเทคโนโลยี
- การออกแบบ Drawing ของแต่ละงานมีบูรณาการในการบริหารจัดการเศษที่ต้องทิ้งหรือไม่
ต่างๆ เหล่านี้เป็นตัวอย่างของการบริหารจัดการเศษ ซึ่งโรงงานที่ต้องการสร้างตัวตนในกลุ่ม Low Carbon Footprint ก็สามารถนำเสนอผลงานของตัวเองต่อองค์กรอิสระเพื่อเชื่อมต่อกับองค์กรขนาดใหญ่ที่ให้น้ำหนักกับโรงงานที่ใส่ใจในสิ่งแวดล้อม
2. ลดการขนส่งที่ไม่จำเป็น
เรื่องนี้ไม่ต้องพูดกันเยอะ ลดเที่ยววิ่งของรถขนส่ง ขนส่งแบบวางแผนการเดินทางด้วยระบบsmart GPS และที่สำคัญคือการตรวจสอบสภาพรถขนส่งอยู่เป็นประจำเพื่อลดการปล่อยก๊าซ CO2
3. สนับสนุนการใช้วัสดุในการผลิตที่เป็น Low Carbon Footprint
ถ้าคุณอยากเป็นตัวจริงด้าน low carbon footprint ผลิตภัณฑ์ที่คุณซึ้อมาใช้งานภายในโรงงานย่อมต้องสามารถตรวจสอบได้ว่ามาจากองค์กรที่มีแนวความคิดเดียวกัน และมีความยั่งยืนในระดับนโยบายการบริหารที่ประกาศเป็นวิสัยทัศน์สำคัญขององค์กร ในทางตรงกันข้าม เตรียมตัวเดินออกห่างจากองค์กรที่ไม่มีนโยบาย Low Carbon Footprint ได้เลยเพราะองค์กรเหล่านี้จะไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมโลกและขาดการสนับสนุนในโอกาสที่สำคัญหลายๆ อย่างเนื่องจากความเห็นแก่ตัวและไม่ปรับตัวเองเพื่อการอยู่รอดของชาวโลก
การคัดเลือกเทคโนโลยีเพื่อการลด Carbon Footprint นั้นสำคัญต่อการลงทุนของ steel fabricator อย่างเรา องค์กรที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์หรือกำลังเดินหน้าเข้าตลาดหลักทรัพย์มักจะเป็นองค์กรแรกๆ ที่ให้น้ำหนักกับนโยบาย Low Carbon Footprint ด้วยสิ่งที่เป็นข้อกำหนดกลายๆ ที่เรียกว่า market norms
ก่อนลงทุนครั้งต่อไป โปรดตรวจสอบให้มั่นใจว่าเทคโนโลยีที่คุณกำลังคัดสรรนั้นตอบโจทย์ Low Carbon Footprint มากน้อยเพียงไรเพื่อการเติบโตที่ยั่งยืนของคุณในอนาคต
https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/480628
#ทางเลือกของคนฉลาดเลือก #คุ้มค่าที่สุดในการลงทุนกับfiberlase r#ตัดท่อขยายโอกาสได้มากมาย #ไม่ยึดติดแบรนด์แต่เติบโตด้วยเทคโนโลยีที่สร้างความคุ้มค่าอย่างแท้จริง#เครื่องตัดไฟเบอร์เลเซอร์ #fiber_laser#เครื่องเลเซอร์ #ตัดท่อ #HSG #hsg_by_wongtanawoot #sheet_cutting#tube_cutting #Taper_cutting #Bevel_Cutting #pipe_cutting#fiber_laser_tube_cutting #fiber_laser_pipe_cutting #fiber_laser_sheet_cutting #fiber_laser #service #เครื่องตัดเลเซอร์ #Low_Carbon_Footprint #Smart_Steel_Fabrication #Wongtanwoot_community #fiber_laser_cutting_machine #เลเซอร์ตัดท่อ #เลเซอร์ตัดแผ่น #INTERMACH #METALEX #วงศ์ธนาวุฒิ #wongtanawoot
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนางานแปรรูปโลหะแผ่น
โดย วงศ์ธนาวุฒิ โทร. +66.2.899.6374 หรือ +66.86.308.0698
85 ถ.กาญจนาภิเษก แขวงบางบอน เขตบางบอน กรุงเทพฯ 10150
Sheet Metal Smart Factory By WONGTANAWOOT
Email : info@pcb-bangkok.com
WebSite : www.pcb-bangkok.com
FaceBook : รับตัดท่อเหล็ก และสแตนเลส ด้วยเครื่องตัดท่อไฟเบอร์เลเซอร์
YouTube : ดู VDO อื่นๆ ของ HSG by Wongtanawoot
Blog : อ่านบทความเพิ่มเติมของ HSG by Wongtanawoot
Line ID : @pcb-bangkok (มี @ ด้วยนะคะ)
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น